FPGA : FPGA คืออะไร

FPGA คืออะไร และข้อดีข้อเสียของ FPGA สวัสดีครับผู้อ่านทุกๆท่านนะครับ  วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ FPGA กันนะครับ  ซึ่งถ้าเราอยู่ในกลุ่มที่สนใจเทคโนโลยี  เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า FPGA มาบ้าง  แต่อาจจะไม่รุ้ว่า FPGA นั้นคืออะไร  ซึ่งที่เราได้ยินบ่อยขึ้นก็เพราะเดี่ยวนี้ FPGA ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ  ไม่ใช่เป็นงานแค่เฉพาะทางเหมือนในสมัยก่อน ประกอบกับทางเรานั้นได้รับคำถามเกี่ยวกับข้อดีข้อเสีย FPGA มาบ่อยครั้งครับ  ทางเราก็เลยเขียนเรื่องนี้ขึ้นมา  ซึ่งก่อนที่เราจะไปรู้ว่าข้อดีข้อเสียของ FPGA คืออะไร  เราก็ควรที่จะรู้จักกับ FPGA ก่อนว่า FPGA นั้นคืออะไร FPGA คืออะไร   FPGA ก็คือชิปอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์( IC )รูปแบบหนึ่ง  ซึ่งภายในนั้นจะมี Logic Gate ( ที่เอาไว้ทำ AND OR Gate ต่างๆ ) จำนวนมากมาย  โดยที่เราสามารถโปรแกรมลงไปเพื่อกำหนดการเชื่อมต่อของ Logic Gate ต่าง  ว่าเชื่อมต่อกันอย่างไร  การทำงานกันอย่างไรได้  … Read More

FPGA : Avalon bus simulation

    หลายท่านคงเคยประสบปัญหาที่ว่า เคยสร้างสร้าง Slave IP ของตัวเองซึ่งต่อกับ Avalon bus แล้วต้องการ simulate IP ที่เขียนมาเพื่อทดสอบฟังค์ชั่นต่างๆ ที่ออกแบบมา ซึ่งโดยปกติแล้วทาง intelFPGA ได้เตรียม IP ไว้สำหรับ verify โดยเฉพาะ เรียกว่า BFM (Bus Function Models) แต่ BFM นั้นค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนทำให้ยากต่อการนำมาใช้งาน บทความนี้จะนำเสนอวิธีการ verify IP ที่เราเขียนขึ้นมาโดยใช้วิธีอื่นๆนอกจากการใช้ BFM IP ของ intelFPGA Note :  1. ตัวอย่างนี้เพื่อเป็นการแนะนำวิธีการ simulate ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการ simulate IP ง่ายๆ อย่าง GPIO ซึ่งเราจะใช้ IP ของ intelFPGA ที่ชื่อว่า PIO intelFPGA … Read More

PCB : Basic PCB for beginners

แผ่นวงจรพิมพ์หรือที่เรียกว่าพีซีบี (PCB) ทำจากแผ่นวัสดุที่นำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าที่แตกต่างกันซึ่งใช้เพื่อรองรับทางกายภาพ (Physically) และเชื่อมต่อส่วนประกอบเพื่อติดตั้งลงบนพื้นผิว แต่หน้าที่ของบอร์ดแผ่นวงจรพิมพ์คืออะไร อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)  แผ่นวงจรพิมพ์คืออะไร? ข้อมูลพื้นฐาน แผ่นวงจรพิมพ์ หรือเรียกว่า “แผ่นพีซีบี (PCB)” ที่นักอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “แผ่นปริ๊นท์” หรือ แผงวงจร” มีชื่อย่อมาจาก Printed Circuit Board เรียกสั้นๆ ว่า “PCB” อาจชื่อเรียกอีก ได้แก่ Circuit Board, PCB Board, Printed Wiring Board (PWB) หรือแม้กระทั่ง Etched Wiring Board (EWB) แต่ละชื่อก็มีความหมายเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นก็คือ “แผ่นวงจรพิมพ์” นิยาม: โดยทั่วไปแล้วแผ่นวงจรพิมพ์ คือแผ่นบาง ๆ หรือแผ่นฉนวนมีลักษณะแบนทำมาจากแผ่นวัสดุชนิดต่าง ๆ ที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น วัสดุไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) วัสดุที่ประกอบด้วยยางสังเคราะห์ (Composite Epoxy … Read More

FPGA : Nios II Processor Booting Methods in Max10 FPGA

บทความนี้จะกล่าวถึงความสามารถในการบูต Nios II รูปแบบต่างๆของ MAX10 ก่อนจะเข้าเนื้อหาผู้เขียนขออธิบายความสามารถคร่าวๆเกี่ยวกับ MAX 10 ก่อน MAX 10 คืออะไร? MAX 10 เป็น FPGA ตระกูลหนึ่งของบริษัท Intel ที่มี Configuration memory ในตัว เมื่อปิดไฟหรือเกิดเหตุการณ์ไฟตก FPGA Image จะยังคงอยู่ ไม่หายไปเหมือน FPGA ทั่วไป ทำให้เวลาใช้งาน ไม่มีความจำเป็นต้องต่อ Configuration memory จากภายนอก และเวลาที่ใช้ในการบูตแค่หลัก ms เพียงเท่านั้น มี Soft Core CPU คือ Nios II ให้ใช้งานได้ฟรี สามารถเชื่อมต่อกับ External Memory ได้แก่ DDR3 SDRAM / DDR3L SDRAM / … Read More

Altium : How to use Collaborative PCB Design

Collaborate, Compare and  Merge เป็นเครื่องมือไว้สำหรับเปรียบเทียบการออกเบบ PCB ระหว่าง 2 เเบบที่ต่างกัน (2 versions) ที่มาจาก PCB เดียวกัน เเล้วรวมการออกเเบบเข้าเป็นอันเดียว เพื่อให้ผู้ออกเเบบ PCB ทำงานร่วมกันเเบบ Parallel หรือทำการออกเเบบพร้อมกันได้หลายคนในงานเดียวกัน เวลาเดียวกัน เพื่อความรวดเร็วในการทำงานของ Project นั้นๆ Collaborate, Compare and  Merge มีรูปเเบบการใช้งานเเบบงานต่องาน หรือ Compare เเละ Merge กันได้ทีละงาน ระหว่างงานที่มีการเปลี่ยนเเปลงกับงานต้นเเบบจนกว่าจะครบทุกงาน ไม่สามารถ Compare เเละ Merge พร้อมกันได้หลายงานในครั้งเดียว Collaborate, Compare and  Merge Tool มีโครงสร้างการใช้งานโดยเเบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังรูปด้านล่าง Collaborate, Compare and  Merge มีวิธีการใช้งาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ … Read More

Altium : How to make room and copy room formats

คำนิยามในการสร้าง Room เเละ การ Copy Room Formats คือ การสร้างกลุ่มของอุปกรณ์ใดๆให้มีรูปเเบบใดเเบบหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน เช่น เคลื่อนย้าย(move) หรือ การคัดลอก(copy)รูปเเบบนั้นๆ ไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดให้มีรูปเเบบเดียวกัน อธิบายขั้นตอนของการสร้าง Room และการ Copy Room Formats โดยเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ การสร้าง Room การ Copy Room Formats 1. การสร้าง Room 1.1 สร้าง Component Classes ตามกลุ่มวงจร 1.1.1 เลือกอุปกรณ์เเละตั้งชื่อกลุ่มของอุปกรณ์ จัดอุปกรณ์ไว้เป็นกลุ่มๆที่มีวงจรรูปเเบบเดียวกัน เเล้วเลือกกลุ่มอุปกรณ์ที่ต้องการสร้าง Component Classes ใดๆ ทีละกลุ่ม จากนั้นไปที่เมนู Design –> Classes ตามรูป 1.1.2 หลังจากนั้นจะปรากฎ Dialog … Read More

Warehouse Management System

Warehouse Management System หรือระบบจัดการสินค้าคงคลัง คือโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดเวลาในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ลดความผิดพลาดในการนำสินค้าเข้า/ออกจากคลัง รวมไปถึงการบริหารจัดการข้อมูลต่างๆภายในโรงงาน เช่น ข้อมูลพนักงาน ข้อมูลของสินค้า เป็นต้น โดยตัวโปรแกรมจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆได้แก่ โปรแกรมบนเครื่องเทอร์มินัลพกพา (Handy Terminal) ของบริษัท คีย์เอ็นซ์ (ไทยแลนด์) จํากัด มีหน้าที่ในการนำสินค้าเข้า/ออกจากคลังและนำจำนวนสินค้าคงเหลือในคลัง โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ในการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือ ตรวจดูประวัติการทำงานของพนักงาน ปรับยอดสินค้าคงเหลือในคลังและบริหารจัดการข้อมูลภายในโรงงาน ฟังก์ชั่นการทำงาน บันทึกข้อมูลการนำสินค้าเข้า/ออกจากคลัง รวมถึงนับจำนวนสินค้าในคลัง ตรวจสอบจำนวนสินค้าคงคลังและประวัติการทำงานของพนักงาน บริหารจัดการข้อมูลภายในโรงงาน จุดเด่นของโปรแกรม ลดเวลาการทำงาน แก้ปัญหาการสั่งซื้อสินค้าเกิน/สินค้าขาด/สินค้าสูญหาย สามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้ กระบวนการทำงาน

Paperless System

Paperless system คือ ระบบที่ช่วยบันทึกข้อมูลลงบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบไร้กระดาษ เพื่อช่วยลดปริมาณทรัพยากร และระยะเวลาในการจัดการเอกสารให้น้อยลง แล้วยังช่วยป้องกันการสูญหายของเอกสารอีกด้วย โดยระบบของเรานั้นจะทำงานบน Windows tablet และจัดเก็บไฟล์เอกสารในรูปแบบ Excel บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ เพื่อง่ายต่อการใช้งาน และเราสามารถปรับปรุงโปรแกรมได้ตามความเหมาะสมกับงานของลูกค้า ฟังก์ชันหลักในการทำงาน สามารถรองรับไฟล์เอกสาร Excel ทำงานบน Windows tablet จัดเก็บเอกสารบน server สามารถตรวจสอบผู้บันทึกข้อมูลได้ สามารถรับส่งไฟล์ผ่าน WiFi (FTP) จุดเด่นของโปรแกรม ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร ลดจำนวนคนในการทำงาน ลดการสูญหายของข้อมูล ลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ลดเนื้อที่การจัดเก็บเอกสาร ลดการทำงานซับซ้อน

POKAYOKE

Pokayoke คือ ระบบป้องกันความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยคำนี้มาจากภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ คำว่า  “POKA” (อ่านว่า โพ-ขะ ) แปลว่า การผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือพลั้งเผลอ แล้วคำว่า “YOKE ” (อ่านว่า โย-เกะ) แปลว่าป้องกัน สาเหตุของความเสียหายนั้นอยู่ที่ความผิดพลาดของพนักงาน และความเสียหายนั้นคือ ผลจากไม่เอาใจใส่ความผิดพลาดเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับปัญหาคุณภาพ หรือเมื่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลายเป็นสินค้าแล้ว การค้นหาและการเลือกของเสียออกจากของดี ก็จะใช้เวลามากรวมถึงค่าใช้จ่ายตามมาด้วย หรือการค้นหาของที่ไม่ดีก็ยากและอาจหลุดไปสู่ตลาดหรือลูกค้าได้ง่าย โดยระบบที่ทางบริษัทได้พัฒนาขึ้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักคือ โปรแกรมที่ทำงานบนเครื่องเทอร์มินอลพกพา (Handy Terminal) ของบริษัท คีย์เอ็นซ์ (ไทยแลนด์) จํากัด มีหน้าที่ในการสแกนบาร์โค้ดและเปรียบเทียบข้อมูล รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมฝั่งคอมพิวเตอร์ในการรับส่งข้อมูล ทั้งในรูปแบบการส่งข้อมูลผ่าน WiFi (FTP), ระบบ LAN หรือ USB Port โปรแกรมที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ในการจัดการข้อมูลต่างๆ ฟังก์ชั่นหลักในการทำงาน ตรวจสอบเปรียบเทียบสินค้าด้วยการสแกนบาร์โค้ดหรือ QR Code … Read More

Label Printing System

Label Printing System คือระบบพิมพ์ฉลาก โดยใช้เครื่องพิมพ์ฉลากกับกระดาษความร้อน ลูกค้าสามารถออกแบบรูปแบบของฉลากได้ตามความต้องการของตัวลูกค้าเอง โดยระบบของทางเรานั้นรองรับข้อมูลที่ต้องการให้แสดงบนฉลากได้ทั้งตัวเลข, ตัวอักษร, QR Code หรือแม้กระทั่งตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น โดยระบบที่ทางบริษัทได้พัฒนาขึ้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และ/หรือ เครื่องเทอร์มินอลพกพา (Handy Terminal) ของบริษัท คีย์เอ็นซ์ (ไทยแลนด์) จํากัด  เป็นส่วนติดต่อผู้ใช้  มีหน้าที่ในการจัดการข้อมูลและติดต่อกับเครื่องพิมพ์ฉลากผ่านทาง Bluetooth เครื่องพิมพ์ฉลาก รับคำสั่งในการพิมพ์จากส่วนติดต่อผู้ใช้ผ่านทาง Bluetooth ก่อนจะพิมพ์ฉลากข้อมูลที่ต้องการออกมา ฟังก์ชั่นหลักในการทำงาน พิมพ์ฉลากที่มีข้อมูลและ QR Code ตามที่ผู้ใช้กำหนด จุดเด่นของโปรแกรม เพิ่มประสิทธิภาพในการออกฉลาก ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ ไม่ต้องอาศัยทักษะ ความรู้ทาง IT สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานของโปรแกรมหรือการบันทึกข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ (Optional) ตัวอย่างการนำไปใช้งานที่เป็นไปได้ ใช้งานร่วมกับระบบ Data Logging ในการพิมพ์ข้อมูลออกมาในรูปสลิปหรือใบเสร็จ ใช้งานร่วมกับระบบ Warehouse Management System ในการพิมพ์ฉลากสินค้าที่ถูกนำเข้าหรือจำหน่ายออก ใช้งานร่วมกับระบบ POKAYOKE ในการอ่านข้อมูลจาก QR Code ในฉลากของคู่ค้า แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปพิมพ์ฉลากออกมาในรูปแบบอื่นที่กำหนดเอง … Read More