รู้จัก Teardrops ในการออกแบบ PCB จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสียน้ำตาในภายหลัง

“ก่อนที่จะส่งไฟล์ไปโรงงานผลิต PCB อย่าลืมเพิ่ม Teardrops ลงไปที่บอร์ดนะ” หัวหน้าทีมมักจะเตือนในตอนที่ผมเป็นนักออกแบบ PCB น้องใหม่อยู่บ่อยๆ  ณ ขณะนั้น ผมคิดในใจว่า เอ๊ะ! “Teardrops คืออะไร?” “ทำไมต้องเพิ่ม Teardrops?” ด้วยความสงสัย ผมก็เลยทำการสำรวจหาข้อมูลจากการค้นหาโดย Google เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม เนื่องจากตอนนั้นมีเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก และต้องท่องโลกอินเตอร์เน็ตไปเรื่อย ๆ ก่อนจึงจะรู้ว่า Teardrops คืออะไร หากคุณยังใหม่กับสิ่งนี้เช่นเดียวกับผมตอนนั้น หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์กับคุณเช่นเดียวกันนะครับ Teardrops คืออะไร Teardrops เป็นทองแดงพิเศษที่เพิ่มเข้ามา โดยมีลักษณะรูปร่างหลากหลายชนิด ได้แก่ แบบ Line or Filleting, แบบ Curved และแบบ Snowman ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ออกแบบ PCB ที่สามารถสร้าง Teardrops แต่ละชนิดได้ แสดงในรูปที่ 1 รูปที่ 1 แสดงชนิดของ Teardrops Teardrops ทำหน้าที่เพิ่มการเชื่อมต่อให้ … Read More

PCB: การนำ IPC Standard มาปรับใช้เพื่อกำหนดขนาด PTH Hole และ Pad Diameter ในการออกแบบ PCB

สำหรับนักออกแบบ PCB ทั้งมือใหม่และมืออาชีพล้วนมีความกังวลในการออกแบบขนาด PTH Hole และ Pad Diameter สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ Through-Hole หรือมักเรียกกันว่า “แบบเสียบ” บางครั้งกำหนดค่าพารามิเตอร์เผื่อน้อยหรือมากเกินไป อาจทำให้ขนาดรูเจาะเล็กหรือใหญ่เกินไป เมื่อนำอุปกรณ์มาเสียบอาจจะทำให้ประกอบแล้วแน่นเกินไปหรือหลวมเกินไป ทำให้เกิดปัญหาในกระบวนการผลิต เพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราควรมาทำความเข้าใจการกำหนดค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมตาม IPC Standard ที่มีอยู่ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าพารามิเตอร์ของ PTH Hole และ Pad Diameter ที่เรากำหนดหรือตั้งค่าไว้มีค่าที่เหมาะสมที่สุด ในบทความนี้จะมาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IPC Through-Hole Standards คืออะไร ทำไมการปฏิบัติตามมาตรฐานนั้นจึงมีความสำคัญ รวมถึงวิธีการคำนวณหาขนาดของ PTH Hole และ Pad Diameter ตาม IPC Through-Hole Standards IPC Through-Hole Standards คืออะไร? รูปที่ 1 ตัวอย่าง Through Hole device from … Read More

9 Steps to design a PCB

9 ขั้นตอนในการออกแบบ PCB บทความนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนของ PCB Development ตั้งแต่เริ่มสร้างการออกแบบ Schematic ที่มีข้อกำหนดเฉพาะต่างๆ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการออกแบบ PCB Layout รวมถึงการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลสำหรับกระบวนการผลิต PCB (PCB Fabrication) บทความนี้จะสรุปขั้นตอนการออกแบบตัวอย่าง และใช้โปรแกรมการออกแบบ PCB ด้วย Altium Designer เพื่อใช้ในการสร้างรูปภาพประกอบบทความ รูปด้านล่างแสดงตัวอย่าง 9 ขั้นตอนการออกแบบ PCB จากรูป ทำให้เรามองเห็นภาพรวมของขั้นตอนการออกแบบ PCB แล้ว แต่ก่อนที่เราเริ่มต้นออกแบบ PCB ของเรา เราจำเป็นต้องมีข้อมูลหรือข้อกำหนดสำหรับการสร้างการออกแบบ PCB ดังนี้: Block Diagram เป็นกรอบหรือแนวคิดในการออกแบบ PCB สำหรับอุปกรณ์ที่จะสร้างขึ้นใหม่ Finish Circuit Design วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการออกแบบสำหรับอุปกรณ์ตัวใหม่ของเราที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบ Hand Drawing, PDF File, หรือรูปแบบอื่น ๆ เป็นต้น Critical … Read More

PCB : How to make pad array

    ในบทความนี้จะกล่าวถึงการการสร้าง Footprint ที่เป็นเเบบ Pad Array โดยการสร้างจากเครื่องมือ Paste Special ของ Altium เพื่อทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วเเละมีความเเม่นยำ ในเบื้องต้น ก่อนที่จะลงมือสร้าง Footprint ควรต้องทำความเข้าใจรายละเอียดจาก Datasheet ให้เข้าใจก่อน ว่ามีส่วนสำคัญอะไรบ้าง ตามหัวข้อด้านล่าง 1. ใน Datasheet อาจมีหลาย Part Number ให้เราตรวจสอบเเละ Highlight ให้ถูกต้องกับชื่อ Part ที่เราจะสร้าง 2. จำนวน Pad มีเท่าไหร่, มีรูสำหรับยึด Part กับ PCB ด้วยไหม รูยึดเป็นเเบบ PTH หรือ NPTH 3. ตำเเหน่งหรือทิศทางของจุดเริ่มต้น (Polarization) 4. ระยะห่างระหว่าง Pad (Pitch) เช่น 1.27mm หรือ … Read More

PCB : Basic PCB for beginners

แผ่นวงจรพิมพ์หรือที่เรียกว่าพีซีบี (PCB) ทำจากแผ่นวัสดุที่นำไฟฟ้าและไม่นำไฟฟ้าที่แตกต่างกันซึ่งใช้เพื่อรองรับทางกายภาพ (Physically) และเชื่อมต่อส่วนประกอบเพื่อติดตั้งลงบนพื้นผิว แต่หน้าที่ของบอร์ดแผ่นวงจรพิมพ์คืออะไร อ่านบทความนี้เพื่อเรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)  แผ่นวงจรพิมพ์คืออะไร? ข้อมูลพื้นฐาน แผ่นวงจรพิมพ์ หรือเรียกว่า “แผ่นพีซีบี (PCB)” ที่นักอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “แผ่นปริ๊นท์” หรือ แผงวงจร” มีชื่อย่อมาจาก Printed Circuit Board เรียกสั้นๆ ว่า “PCB” อาจชื่อเรียกอีก ได้แก่ Circuit Board, PCB Board, Printed Wiring Board (PWB) หรือแม้กระทั่ง Etched Wiring Board (EWB) แต่ละชื่อก็มีความหมายเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นก็คือ “แผ่นวงจรพิมพ์” นิยาม: โดยทั่วไปแล้วแผ่นวงจรพิมพ์ คือแผ่นบาง ๆ หรือแผ่นฉนวนมีลักษณะแบนทำมาจากแผ่นวัสดุชนิดต่าง ๆ ที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น วัสดุไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) วัสดุที่ประกอบด้วยยางสังเคราะห์ (Composite Epoxy … Read More

Altium : How to use Collaborative PCB Design

Collaborate, Compare and  Merge เป็นเครื่องมือไว้สำหรับเปรียบเทียบการออกเบบ PCB ระหว่าง 2 เเบบที่ต่างกัน (2 versions) ที่มาจาก PCB เดียวกัน เเล้วรวมการออกเเบบเข้าเป็นอันเดียว เพื่อให้ผู้ออกเเบบ PCB ทำงานร่วมกันเเบบ Parallel หรือทำการออกเเบบพร้อมกันได้หลายคนในงานเดียวกัน เวลาเดียวกัน เพื่อความรวดเร็วในการทำงานของ Project นั้นๆ Collaborate, Compare and  Merge มีรูปเเบบการใช้งานเเบบงานต่องาน หรือ Compare เเละ Merge กันได้ทีละงาน ระหว่างงานที่มีการเปลี่ยนเเปลงกับงานต้นเเบบจนกว่าจะครบทุกงาน ไม่สามารถ Compare เเละ Merge พร้อมกันได้หลายงานในครั้งเดียว Collaborate, Compare and  Merge Tool มีโครงสร้างการใช้งานโดยเเบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังรูปด้านล่าง Collaborate, Compare and  Merge มีวิธีการใช้งาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ … Read More

Altium : How to make room and copy room formats

คำนิยามในการสร้าง Room เเละ การ Copy Room Formats คือ การสร้างกลุ่มของอุปกรณ์ใดๆให้มีรูปเเบบใดเเบบหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน เช่น เคลื่อนย้าย(move) หรือ การคัดลอก(copy)รูปเเบบนั้นๆ ไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดให้มีรูปเเบบเดียวกัน อธิบายขั้นตอนของการสร้าง Room และการ Copy Room Formats โดยเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ การสร้าง Room การ Copy Room Formats 1. การสร้าง Room 1.1 สร้าง Component Classes ตามกลุ่มวงจร 1.1.1 เลือกอุปกรณ์เเละตั้งชื่อกลุ่มของอุปกรณ์ จัดอุปกรณ์ไว้เป็นกลุ่มๆที่มีวงจรรูปเเบบเดียวกัน เเล้วเลือกกลุ่มอุปกรณ์ที่ต้องการสร้าง Component Classes ใดๆ ทีละกลุ่ม จากนั้นไปที่เมนู Design –> Classes ตามรูป 1.1.2 หลังจากนั้นจะปรากฎ Dialog … Read More