Teraterm Macro

Teraterm Macro เป็นสคริปต์ที่ใช้สำหรับการทำงานในโปรแกรม TeraTerm ซึ่งเป็นโปรแกรมเชื่อมต่อแบบพอร์ตซีเรียล (Serial Port) ที่ใช้สำหรับการควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางพอร์ตซีเรียล ซึ่ง TeraTerm Macro จะทำหน้าที่ส่งคำสั่งที่เขียนไว้ในสคริปต์ ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางพอร์ตซีเรียล โดยมีการตั้งค่าการเชื่อมต่อเป็นได้หลายแบบ เช่น Telnet, SSH, Serial, และอื่นๆ และ TeraTerm Macro ยังสามารถทำงานร่วมกับตัวแปร เงื่อนไข การวนซ้ำ การแสดงผล และคำสั่งอื่นๆ ที่ช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ดังนั้น TeraTerm Macro จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานที่ซับซ้อนในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง ttl macro script ( Tera Term Language ) สำหรับการใช้งานเบื้องต้น

เราสามารถใช้ free text editor เช่น notepad, notepad++ ในการเขียน macro script หรือจะใช้ TTL Editor ก็ได้

คำอธิบาย ttl macro script

“;” ใช้สำหรับ comment code

inputbox คือกล่องข้อความรับ input ทาง keyboard เก็บไว้ในตัวแปล inputstr ( ตัวอย่างเช่น ถ้ากดเลข 3 ไป เลข 3 จะถูกเก็บในตัวแปร inputstr)

port  = ‘/C=’ เป็นการประกาศให้ตัวแปร port มีค่าเท่ากับ ‘/C=’

strconcat  เป็นการนำข้อความมาต่อๆกัน จากตัวอย่างคือ port inputstr จะได้เป็น /C= 3

connect เป็นการเชื่อมต่อมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน Telnet connection,  SSH1 or SSH2 connection และ Connection via COM por

setbaud เป็นการกำหนด baudrate ตัวอย่างคือ 115200

messagebox เป็นการ pop-up ข้อความขึ้นมาสำหรับตรวจสอบ จะแบ่งเป็น ‘ข้อความ’ ‘หัวข้อ’

mpause เป็นการหน่วงเวลา มีหน่วยเวลาเป็น milliseconds

copystr เป็นการ copy ข้อความแล้วเก็บไว้ในตัวแปร strvar สามารถนำ

call เป็นการเรียก subroutine ( โปรแกรมย่อย เมื่อทำงานเสร็จแล้วจะ return กลับมาที่โปรแกรมหลัก )

วิธีการเรียกใช้งาน macro

  1. เปิด โปรแกรม Teraterm
  2. เลือกที่ Control → Macro
  3. เลือก macro ไฟล์ที่เราสร้างขึ้นมา ตัวอย่างจะเป็น example.ttl

การนำไปใช้

เมื่อเรานำไปใช้งาน ttl macro scrip จะมีการทำงานตามชุดคำสั่งจากบนลงล่าง

สมมุติว่าพอร์ตซีเรียลที่เชื่อมต่อเป็นพาร์ต3 ให้พิมพ์เลข 3 ลงไป

จากนั้น Teraterm Macro จะเก็บเลข 3 แล้วไป Set COM port และ Baudrate ให้อัตโนมัติ และ แสดงข้อความที่เราระบุใน Message Box

โครงสร้าง Macro Command และรูปแบบของภาษา

สุดท้ายนี้จะขอยกตัวอย่าง โครงสร้าง Macro Command และรูปแบบของภาษา ที่ใช้งานบ่อยๆ

1. การสร้างเงื่อนไข if, then, elseif, else, endif

2. การส่งค่าคืน โดยมี FORMAT ดังนี้ %c, %d, %i, %o, %u, %x, %X, %e, %E, %f, %g, %G, %a, %A and %s 

sprintf2 strvar FORMAT [ARGUMENT …]

3. yesnobox แสดงกล่องข้อความ โดยมีตัวเลือกให้เลือกแค่ YES กับ NO

yesnobox <message> <title> [<special>]

ค่า Return

ถ้าผู้ใช้ Click ที่ [YES] Return Value จะเท่ากับ 1

แต่ถ้าหากผู้ใช้ Click ที่ [NO] Return Value จะเท่ากับ 0

4. คำสั่ง for ให้ทำซ้ำตามจำนวนที่ต้องการ

for <intvar> <first> <last>

next

5. คำสั่งหยุด Break 

ใช้สำหรับออกจาก for และ while loop

สำหรับบทความนี้ จะเป็นการสาธิตวิธีใช้งานเบื้องต้น หากผู้อ่านมีความต้องการใช้งานที่มีความซับซ้อนสูง สามารถเข้าไปเรียนรู้ชุดคำสั่งทั้งหมดได้อีกมากมายที่ https://ttssh2.osdn.jp/manual/4/en/macro/command/index.html

ผู้อ่านท่านใดมีความคิดเห็น, คำแนะนำ, ข้อเสนอแนะและคำถามสามารถสอบถามเพิ่มเติมทางอีเมล์ ndrs@ndrsolution.com ได้เลยครับ ทาง NDRS เราจะมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยแบ่งบันความรู้เรื่อยๆ  และหากกำลังท่านกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาให้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถติดต่อผ่านเราได้ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นอีเมลล์ หรือ facebook ครับ