DR 100
(โครงการบ้าน 100 หลัง)

โดย ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

แผนภาพโครงสร้างระบบ

วัตถุประสงค์ (หลักๆ)
  1. เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อคำสั่งการลดการใช้ไฟฟ้าอย่างอัตโนมัติจากระบบส่วนกลางในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยโดยเน้นที่เครื่องปรับอากาศ
  2. เพื่อเป็นโครงการนำร่องศึกษาความเหมาะสมของเทคโนโลยีสมาร์ทกริดเพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย
Requirement ของโครงการ
การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ของโครงการ

การติดตั้งอุปกรณ์ในภายในบ้านในหลากหลายรูปแบบ

อุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งในบ้านแต่ละหลัง
  1. Multisensor
  2. Gateway
  3. Meter
  4. ACU
  5. Tablet
ทำการติดตั้งให้กับบ้าน 100 หลัง โดยแบ่งพื้นที่และเลือกจังหวัดตัวแทนไว้เบื้องต้น ดังนี้
  • ภาคกลางและภาคตะวันออก (กรุงเทพฯ 50 %, ระยอง 10 %) 60 %
  • ภาคเหนือ (เชียงใหม่) 10 %
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) 10 %
  • ภาคตะวันตกและภาคใต้ (ประจวบคีรีขันธ์) 20 %

Application

ส่วน Application จะแยกเป็น 2 Application คือ ส่วนสำหรับบริหารจัดการส่วนกลางและ Application สำหรับบริหารจัดการพลังงานในบ้าน

1. ส่วนสำหรับบริหารจัดการส่วนกลาง

  • Web Application สำหรับผู้ดูแลนโยบายส่วนกลางที่สามารถ
    • ดูการใช้พลังงานแต่ละบ้าน รวมถึงแต่ละภาคได้
    • มีเครื่องมือที่ช่วยในการดำเนินมาตรการ Demand response ด้วยวิธี Direct load control จาก ส่วนกลาง
    • มีเครื่องมือช่วยติดตามสถานะการดำเนินการ Demand response แบบ Real time
    • มี algorithm เพื่อช่วยให้การดำเนินมาตรการ Demand response เป็นไปโดยราบรื่นไม่กระทบผู้ใช้งานบ้านแต่ละหลังมากเกินไปนัก

2.Application สำหรับบริหารจัดการพลังงานในบ้าน

  • Android Application สำหรับ Monitor การใช้พลังงานในบ้านรวมถึงควบคุมเครื่องปรับอากาศในบ้านรวมทั้งมีหน้าแดชบอร์ดในการแสดงภาพรวมของการใช้พลังงาน
ภาพตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์ในกรณีที่ 1