Altium : How to make room and copy room formats

คำนิยามในการสร้าง Room เเละ การ Copy Room Formats คือ การสร้างกลุ่มของอุปกรณ์ใดๆให้มีรูปเเบบใดเเบบหนึ่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน เช่น เคลื่อนย้าย(move) หรือ การคัดลอก(copy)รูปเเบบนั้นๆ ไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดให้มีรูปเเบบเดียวกัน

อธิบายขั้นตอนของการสร้าง Room และการ Copy Room Formats โดยเเบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. การสร้าง Room
  2. การ Copy Room Formats

1. การสร้าง Room

1.1 สร้าง Component Classes ตามกลุ่มวงจร

1.1.1 เลือกอุปกรณ์เเละตั้งชื่อกลุ่มของอุปกรณ์ จัดอุปกรณ์ไว้เป็นกลุ่มๆที่มีวงจรรูปเเบบเดียวกัน เเล้วเลือกกลุ่มอุปกรณ์ที่ต้องการสร้าง Component Classes ใดๆ ทีละกลุ่ม จากนั้นไปที่เมนู Design –> Classes ตามรูป

1.1.2 หลังจากนั้นจะปรากฎ Dialog box ชื่อว่า Object Class Explorer เเล้วไปที่เเถบ Component Classes คลิกขวาเเล้วเพิ่ม Class ตามรูป

1.1.3 ให้ตั้งชื่อ Component Classes ที่บ่งบอกความหมายในการทำงานของกลุ่มวงจรนั้นๆ

1.1.4 เพิ่มอุปกรณ์ที่เราได้เลือกไว้เข้าไปใน Component Classes ที่เราสร้างขึ้นหลังจากการตั้งชื่อเสร็จ

1.1.5 ได้ Component Classes ที่เราได้สร้างไว้ ตามรูป ในส่วนกลุ่มอื่นที่มีรูปเเบบวงจรเหมือนกันก็ให้ทำตามขั้นตอนการสร้าง Component Classes ที่กล่าวมาจนครบทุกกลุ่ม ตามรูป

1.2 สร้าง Channel Classes

การสร้าง Channel Classes นี้ก็เพื่อสะดวกในขั้นตอนการ Copy Room Formats เเละเพื่อเเยก function ไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น TX, RX เป็นต้น

1.2.1 ไปที่เมนู Design –> Classes จะมี Dialog box ชื่อว่า Object Class Explorer ขึ้นมาเเล้วไปที่เเถบชื่อ Design Channel Classes คลิกขวาเเล้วเพิ่ม Class ตามรูป

1.2.2 ตั้งชื่อ Channel Classes เเละเพิ่ม Component Classes ของเเต่ละ Channel ตามรูป

1.3 การตั้งค่าตัวเลข Channel Offset

การตั้งค่าตัวเลข Channel Offset (สำหรับ Copy Room Formats เท่านั้น ถ้าจะสร้าง Room เพื่อไว้ใช้งานอย่างอื่น ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป)

Channel Offset Number คือ ตัวเลขที่เอาไว้อ้างอิงในการจับคู่ตำเเหน่งของอุปกรณ์ระหว่าง Room โดยการจับคู่กันต้องมีตัวเลข Channel Offsets ที่เหมือนกันในเพียงเเต่ละคู่เท่านั้น ห้ามซ้ำกับคู่อื่น สร้างไว้สำหรับการ Copy Room Formats

ช่องการตั้งค่าจะอยู่ที่เเถบ Properties ในหัวข้อ Schematic Reference Information ตามรูป โดยมีวิธีการตั้งค่าตามขั้นตอนด้านล่าง

1.3.1 จัดรูปเเบบการวางอุปกรณ์(placement)ไว้คร่าวๆในทุกกลุุ่มให้มีรูปเเบบใกล้เคียงกัน เพื่อความสะดวกในการตั้งค่า ตามรูป

1.3.2 เลือกอุปกรณ์ในเเต่ละกลุ่มอย่างละอัน ในตำเเหน่งเเละหน้าที่ ที่เหมือนกันใน schematic โดยกด Shift ที่ Keyboard ค้างไว้ เเละเลือกให้ครบทุกกลุ่ม ดังตัวอย่าง ตามรูป

1.3.3 ไปที่เเถบ Properties ในหัวข้อ Schematic Reference Information เเละตั้งค่าตัวเลขในช่อง Channel Offset ตามรูป

ให้ตั้งค่า Channel Offset ให้ครบทุกตัวในเเต่ละกลุ่ม โดยห้ามมีตัวเลขซ้ำกัน

1.4 สร้าง Room จาก Component Classes ที่ได้สร้างเอาไว้

1.4.1 ทำการเลือกกลุ่มอุปกรณ์ตาม Component Classes ที่ได้สร้างขึ้นจะปรากฏ highlight ขึ้นว่าเราได้เลือกเเล้ว (เลือกทีละกลุ่ม)

1.4.2 สร้าง Room โดยใช้วิธี Create Rectangle Room from selected components ตามเมนู

Design –> Rooms –> Create Rectangle Room from selected components

หลังจากสร้าง Room เสร็จเเล้วจะได้ผลออกมา ตามรูป

1.4.3 ให้ตั้งชื่อ Room นั้นๆ โดยทำการ Double click ในพื้นที่ของ Room ที่สร้างขึ้นมาจะมี Dialog Box ขึ้นมาให้ตั้งชื่อ โดยให้ตั้งตามชื่อ Component Classes ตามรูป

1.4.4 สร้าง Room เเละตั้งชื่อให้ครบทุกกลุ่มตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาจะได้ผลลัพธ์ ตามรูป

1.5 การกำหนดขนาด Room ใหม่ เพื่อให้มีขนาดเหมาะสมหลังการ Route (ทำเพียงต้นเเบบเท่านั้น)

หลังจากที่ได้ทำการ Route งานเสร็จเเล้วเพื่อทำเป็นต้นเเบบที่จะ Copy Room Formats ไปสู่กลุ่มอื่นๆ โดยขนาดของ Room อาจจะเล็กไป หรือ อาจจะมีขนาดใหญ่ไปจากที่ได้สร้างเอาไว้ตอนต้น ให้ทำการกำหนดขนาด Room ที่เหมาะสมใหม่ โดยไปที่เมนู Design –> Rooms –> Wrap Rectangular Room Around Components ตามรูป

ถ้าใช้ Wrap Rectangular Room Around Components เเล้วยังไม่ได้ขนาดตามต้องการสามารถกำหนดขนาดเองโดยวิธี Manual ได้ โดยนำ Mouse Cursor ไป Click บนพื้นที่ของ Room เเล้วกำหนดขนาดตามที่ต้องการ

ตัวอย่าง ขนาดของ Room ต้นเเบบหลังจาก Route เสร็จเเเละกำหนดขนาด Room ที่เหมาะสม

2. การ Copy Room Formats

การที่จะ Copy Room Formats ได้ถูกต้องจะต้องมีรูปเเบบดังต่อไปนี้ ‣ ต้องมีตัวเลข Channel Offsets ไว้ใช้อ้างอิงในการจับคู่กันระหว่าง Room ที่มีตัวเลขเหมือนกันในเพียงเเต่ละคู่เท่านั้น ห้ามมีตัวเลขซ้ำกับคู่อื่น ‣ ขนาด Room size ต้องมีขนาดเท่ากันระหว่างต้นเเบบ เเละปลายทาง เพื่อให้การ Copy ถูกต้องตรงกัน ‣ Trace, Via, Polygon Plane, Fill, Etc. หลังจากที่มีการ Route ต้องอยู่ในพื้นที่ของ Room

2.1 ไปที่เมนู Design –> Room –> Copy Room Formats จะปรากฏ Cursor ขึ้นมา ให้นำ Cursor นั้นไป Click ในพื้นที่ของ Room ต้นเเบบก่อน จากนั้นนำ Cursor ไป Click ในพื้นที่ของ Room ตัวอื่นที่มีชื่ออยู่ในกลุ่ม Channel Classes เดียวกัน จะมี Dialog Box ชื่อว่า Confirm Channel Format Copy ขึ้นมา เรียงลำดับขั้นตอนตามรูปด้านล่าง

2.2 ตั้งค่ารูปเเบบในการ Copy Room Formats โดยให้เลือกตรงช่อง Apply To Specified Channel เพื่อทำการ Copy รูปเเบบจากต้นเเบบไปสู่ทุกๆ Rooms ใน Channel Class เดียวกัน ตามรูป

2.3 หลังจากการ Copy Room Formats เเล้วจะได้รูปเเบบทุกกลุ่มเเสดงดังรูปด้านล่าง

ข้อสังเกต (กรณีที่มี Polygon Plane อยู่ใน Room)

‣ Polygon Plane ที่ net name ในเเต่ละ Room เเตกต่างกัน หลังจาก Copy Room Formats เเล้ว net name ยังคงเป็นชื่อจากต้นเเบบอยู่เเละเเสดงเป็น unpour ดังนั้นให้เเก้ไขเเบบ manual ทีละส่วนจนครบ ยกเว้น Polygon Plane ที่ net name ในเเต่ละ Room เป็นชื่อเดียวกันจะสามารถ Copy Formats ได้ เช่น Ground, Power เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อให้การใช้งาน Copy Room Formats ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเเล้ว ควรหลีกเลี่ยงการทำ Polygon Plane ที่ไม่สามารถ Copy Formats นั้นได้ ควรใช้เป็นเเบบเส้น(trace)เเทน

ตัวอย่าง หลังจากเเก้ไขเรื่อง Polygon Plane เเล้วจะได้รูปเเบบที่ไว้พร้อมใช้งาน ตามรูป

สรุป

การใช้การสร้าง Room และ การ Copy Room Formats เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้าย (move) หรือ การคัดลอก (copy) รูปแบบวงจรที่มีความเหมือนกัน ตั้งแต่ 2 channel ขึ้นไป นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความผิดพลาดและประหยัดเวลาในการออกแบบ PCB ได้

PS> บทความนี้อาจจะมีการอธิบายไม่ตรงหรือไม่ครบถ้วน ยังไงก็สามารถติชมเข้าได้นะครับ เนื่องจากบางส่วนมาจากการใช้งานเอง และบางส่วนก็มาจากการอ่านหลากหลายบทความมาสรุปเป็นขั้นตอนต่าง ๆ อาจจะมีผิดพลาดไปบ้างก็ต้องขอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ